วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

มาตรฐานของ RFIFD

มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับการใช้งาน RFID มี 2 หน่วยงานหลัก
          1. International Organization of Standard (ISO)
          2. EPC Global

โดยที่มาตรฐานของ RFID มีการกำหนดไว้ 4 ด้านคือ
          1. มาตรฐานด้านเทคโนโลยี (Technology)
          2. มาตรฐานรูปแบบของข้อมูล (Data format)
          3. มาตรฐานวิธีการทดสอบ (Conformance)
          4. มาตรฐานการใช้งาน (Applications)

คลื่นความถี่ที่ใช้งานกับ RFID


อัตราการรับส่งข้อมูลและแบนด์วิดธ์
          อัตราการรับส่งข้อมูล (Data Transfer Rate) จะขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นพาหะ ความถี่ของคลื่นพาหะยิ่งสูง อัตราการรับส่งข้อมูลก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
          ส่วนการเลือกแบนด์วิดธ์ หรือย่านความถี่นั้นก็จะมีผลต่ออัตราการรับส่งข้อมูลเช่นกันโดยมีหลักว่า แบนด์วิดธ์ควรจะมีค่ามากกว่าอัตราการรับส่งข้อมูลที่ต้องการอย่างน้อยสองเท่า
          ตัวอย่าง ถ้าใช้แบนด์วิดธ์ในช่วง 2.4-2.5 GHz ก็จะสามารถรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลได้ประมาณ 2 megabits ต่อวินาที
          แต่การใช้แบนด์วิดธ์ที่กว้างเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณรบกวนมาก หรือทำให้ S/N Ratio ต่ำลงนั่นเอง ดังนั้นการเลือกใช้แบนด์วิดธ์ให้ถูกต้องก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา

ระยะการรับส่งข้อมูลและกำลังส่ง
          ระยะการรับส่งข้อมูลในระบบ RFID ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังนี้
          1. กำลังส่งของตัวอ่านข้อมูล (Reader/Interrogator Power)*
          2. กำลังส่งของแท็กส์ (Tag Power)
          3. สภาพแวดล้อม
          4. การออกแบบสายอากาศของตัวอ่านข้อมูล**
          *Reader จะมีกำลังส่งมากแค่ไหนก็ได้ แต่โดยทั่วไปกฏหมายของแต่ละประเทศ จะกำหนดกำลังส่งระหว่าง 100-500 mW
          **การออกแบบสายอากาศของตัวอ่านข้อมูล จะเป็นตัวกำหนดลักษณะรูปร่างของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจากสายอากาศ ดังนั้นระยะการรับส่งข้อมูล บางทีอาจขึ้นอยู่กับมุมของการรับส่งระหว่าง Tag และ Reader

ไม่มีความคิดเห็น: