วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ป้าย TAG

โครงสร้างภายใน Tag





          โครงสร้างภายใน Tag จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
          1. ไมโครชิป (Microchip) ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลของวัตถุ ในหน่วยความจำ ซึ่งในหน่วยความจำนี้ อาจเป็นแบบอ่านได้อย่างเดียว (ROM) หรือ ทั้งอ่านและเขียน (RAM) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการนำไปใช้งาน โดยปกติ หน่วยความจำแบบ ROM จะเก็บข้อมูลด้วยความปลอดภัย เช่น สิทธิในการเข้าออกประตู ส่วน RAM ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวในระหว่างที่ Tag และ Reader ทำการติดต่อสื่อสารกัน
          นอกจาก ROM และ RAM แล้ว ยังมีหน่วยความจำแบบ EEPROM เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลการสื่อสารระหว่าง Tag และ Reader และข้อมูลยังคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีพลังงานไฟฟ้าป้อนให้แก่ Tag


          2. สายอากาศ (Antenna) สายอากาศ คือ ขดลวดขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นเสาอากาศ สำหรับรับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และ สร้างพลังงานป้อนให้กับ ไมโครชิป
           สายอากศจะแผ่สัญญาณวิทยุจำนวนหนึ่งออกมา เพื่อกระตุ้นให้ Tagอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไป สายอากาศสามารถมีได้หลากหลายขนาดและรูปร่าง เพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุที่จะนำ Tag ไปติดตั้ง และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรับ-ส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ สายอากาศจะถูกติดไปโดยตรงกับ Transceiver ให้เป็นอุปกรณ์ติดกัน


ประเภทของ Tag
          โดยทั่วไป Tag อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เป็นกระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก ที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไป แต่ไม่ว่า Tag จะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม เราสามารถแบ่งประเภทของ Tag ได้ 2 ชนิด ใหญ่ ๆ ได้แก่ แบบแพสทีฟ (Passive Tag) และ แบบแอ็กทีฟ (ActiveTag) โดยแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามรูปแบบการนำไปใช้งาน ราคา โครงสร้างภายใน และ หลักการทำงาน ดังนี้
           1. Passive Tag ไม่มีแหล่งพลังงาน หรือแบตเตอรี่ภายใน Tag เพราะการทำงานอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจาก Reader (มีวงจรกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่ในตัว)หรือ ที่เรียกว่าอุปกรณ์ Transceiver


ข้อดี และ ข้อเสียของ Passive Tag

           ข้อดี
                      1. น้ำหนักเบา
                      2. Tag มีขนาดเล็ก
                      3. ราคาถูก
                      4. อายุการใช้งานไม่จำกัด
           ข้อเสีย
                      1. ระยะการับส่งข้อมูลสั้น (ระยะไกลสุดเพียง 1.5 เมตร)
                      2. หน่วยความจำมีขนาดเล็ก (ประมาณ 32 ถึง 128 บิต)
                      3. Reader ต้องมีกำลังส่งที่สูง
                      4. อาจเกิดผิดพลาดหากทำงานในบริเวณที่มีสัญญาณรบกวน

โครงสร้างภายใน Tag แบบ Passive Tag ประกอบด้วย
           1) ส่วนการควบคุมการทำงานของภาครับส่งสัญญาณวิทยุ (Analog Front-End)
           2) ส่วนควบคุมภาคลอจิก (Digital Control Unit)
           3) ส่วนของหน่วยความจำ (Memory) อาจจะเป็นแบบ ROM หรือ EEPROM

ตัวอย่าง Passive Tag


           2. Active Tag จะมีแบตเตอรี่อยู่ภายในซึ่งใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟขนาดเล็ก เพื่อป้อนพลังงานไฟฟ้าให้ Tag ทำงาน การที่ต้องใช้แบตเตอรี่จึงทำให้ Tag มีอายุการใช้งานจำกัดตามอายุของแบตเตอรี่ เมื่อแบตเตอรี่หมดจะไม่สามารถนำ Tag มาใช้งานได้อีก
           แต่สามารถออกแบบวงจรของ Tag ให้ใช้กระแสไฟน้อยๆ ในการทำงาน ก็อาจจะมีอายุการใช้งานนานนับสิบปี

ข้อดี และ ข้อเสียของ Active Tag
           ข้อดี
                     1. มีหน่วยความจำขนาดใหญ่
                     2. (ประมาณ1เมกะไบต์)
                     3. ระยะการรับส่งข้อมูลไกล (ระยะไกลสุด 6 เมตร)
                     4. ทำงานในบริเวณที่มีสัญญาณรบกวนได้ดี
           ข้อเสีย
                     1. ราคาสูง
                     2. Tag มีขนาดใหญ่
                     3. ระยะเวลาในการทำงานที่จำกัด ตามอายุของแบตเตอร์รี่ประมาณ 3–7 ปี

ตัวอย่าง Active Tag

          ในปัจจุบันนิยมใช้ Tag แบบ Passive Tag มากกว่า แบบ Active Tag เนื่องจาก Passive Tag ได้เปรียบในเรื่องของ ราคา และ อายุการงาน
          นอกจากการแบ่ง Tag ตามชนิดของ Tag แล้ว ยังสามารถแบ่ง Tag ได้ตาม ประเภทรูปแบบในการใช้งานได้ 3 แบบ คือ
           1. แบบที่สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-write)
           2. แบบเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ (Write-One, Read-Many : WORM)
           3. แบบอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-Only)

ไม่มีความคิดเห็น: